วันพฤหัสบดีที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2557

Charles Augustus Lindbergh


ชาร์ลส์ ลินด์เบิร์ป็นวีรบุรุษของอเมริกัน เกิด 4 กุมภาพันธ์ 1902 เสียชีวิต 26 สิงหาคม 1974 ผู้เป็นนักบินคนแรกที่บินเดี่ยวโดยไม่หยุดพัก ข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก จากนครนิวยอร์กไปยังปารีส โดยใช้เครื่องบินใบพัด ปีกชั้นเดียว ชื่อ สปิริตออฟเซนต์หลุยส์ เมื่อวันที่ 20-21 ค.ศ.1927
เมื่อลินด์เบิร์กมีอายุได้ 25 ปีขณะที่ทำงานเป็นนักบินให้กับการไปรษณีย์อเมริการ ได้ตัดสินใจเข้าร่วมชิงรางวัล Orteig Prize ที่จะมอบเงิน 25,000 ดอลล่าร์สหรัฐแก่ใครก็ตามที่สามารถบินข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกโดยไม่หยุดพักได้ โดยลินด์เบิร์กได้เริ่มบินออกจากสนามบินรูสเวล ในการ์เดนซิตี้ ในลองไอส์แลนด์ในรัฐนิวยอร์ก และไปสิ้นสุดการบินที่สนามบิน Le Bourget ในกรุงปารีส ฝรั่งเศส รวมเป็นระยะทางกว่า 5,800 กิโลเมตร โดยใช้เครื่องบินใบพัด ปีกชั้นเดียว เครื่องยนต์เดี่ยว ที่มีชื่อว่า สปิริตออฟเซนต์หลุยส์ โดยความสำเร็จในครั้งนี้ส่งผลให้ลินด์เบิร์กมีชื่อเสี่ยงไปทั่วโลกในทันที และได้รับเหรียญเชิดชูเกียรติ์ขั้นสูงสุดของสหรัญอเมริกา ที่มีชื่อว่า Medal of Honor อีกด้วย
ในตอนปลายของทศวรรษ 1920 ถึงต้นทศวรรษ 1930 ลินด์เบิร์กได้ใช้ชื่อเสียงของตนในการสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมการบินพาณิชย์ในสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ตามในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1932 ลูกชายของลินด์เบิร์กที่ยังเป็นเพียงเด็กทารก ได้ถูกลักพาตัวและฆาตกรรมในภายหลัง ซึ่งบรรดาสื่อถือว่าเป็น "อาชญากรรมแห่งศตวรรษ" เหตุการณ์ครั้งนี้ส่งผลให้ลินด์เบิร์กและครอบครัวตัดสินใจอพยพไปอยู่ในยุโรป จนกระทั่งเมื่อจักรวรรดิ์ญี่ปุ่นได้เปิดฉากโจมตีเพิร์ล ฮาร์เบอร์ โดยก่อนหน้านี้ ลินด์เบิร์ก เคยเป็นผู้สนับสนุนคนสำคัญในการต่อต้านไม่ให้สหรัฐเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่สอง ตามรอยบิดาของเขาที่ก็เป็นผู้นำของขบวนการต่อต้านสงครามในสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ตาม หลังเหตุการณ์ที่เพิร์ล ฮาร์เบอร์ ลินด์เบิร์กได้หันมาสนับสนุนในการทำสงครามกับญี่ปุ่น และให้คำปรึกษาแก่กองทัพในสมรภูมิสงครามแปซิฟิกหลายครั้ง อย่างไรก็ตามประธานาธิบดี เฟรงกลิน ดี รูสเวล ปฏิเสธที่จะคืนยศแก่ลินเบิร์ก หลังจากที่ลินด์เบิร์กได้ตัดสินใจลาออกจากกองทัพในเดือนเมษายน ค.ศ. 1941
ในบั้นปลายของชีวิต ลินด์เบิร์กยังได้กลายเป็นนักเขียนที่โด่งดัน นักสำรวจ นักประดิษฐ์ และนักสิ่งแวดล้อม

ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี 

ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี เดิมชื่อ คอร์ราโด เฟโรชี - Corrado Feroci ชาวอิตาลีสัญชาติไทย เป็นปูชนียบุคคลคนหนึ่งของไทยโดยได้สร้างคุณูปการในทางศิลปะจนเป็นที่รู้จักกว้างขวาง ทั้งยังเป็นผู้ก่อตั้ง และครูสอนศิลปะในมหาวิทยาลัยศิลปากร จนเป็นที่รักใคร่และนับถือทั้งในหมู่ศิษย์และอาจารย์ และได้รับการยกย่องเป็นปูชนียบุคคลของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ มีผลงานที่โดดเด่นหลายอย่างในประเทศไทย ได้แก่ พระราชานุสาวรีย์ของสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่สวนลุมพินี และ อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งศิลปะร่วมสมัยของไทย และเป็นบิดาแห่งมหาวิทยาลัยศิลปากร




ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี เกิดเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2435 ในเขตซานโจวันนี (San Giovanni) เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี บิดาชื่อ นาย Artudo Feroci และมารดาชื่อนาง Santina Feroci เมื่ออายุ 23 ปี สามารถสอบผ่านเป็นศาสตราจารย์ จากราชวิทยาลัยศิลปแห่งนครฟลอเรนซ์(The Royal Academy of Art of Florence)
ปี พ.ศ. 2441 ได้เข้าศึกษาในระดับชั้นประถม หลักสูตร 5 ปี หลังจากจบหลักสูตร จึงเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนระดับมัธยมอีก 5 ปี หลังจากนั้นจึงเข้าศึกษาทางด้านศิลปะในโรงเรียนราชวิทยาลัยศิลปะ แห่งนครฟลอเรนซ์ จบหลักสูตรวิชาช่าง 7 ปีในขณะที่มีอายุ 23 ปีและได้รับประกาศนียบัตรช่างปั้นช่างเขียน ซึ่งต่อมาได้สอบคัดเลือกรับปริญญาบัตรเป็นศาสตราจารย์มีความรอบรู้ทางด้านประวัติศาสตร์ศิลป์วิจารณ์ศิลป์และปรัชญาโดยเฉพาะมีความสามารถทางด้านศิลปะแขนงประติมากรรมและจิตรกรรม
ปี พ.ศ. 2466 ท่านได้ชนะการประกวดการออกแบบเหรียญเงินตราสยามที่จัดขึ้นในยุโรป ด้วยเหตุนี้จึงเดินสู่แผ่นดินสยามเพื่อเข้ามารับราชการเป็นช่างปั้นประจำกรมศิลปากร ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2466 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอาจารย์สอนวิชาช่างปั้นหล่อ แผนกศิลปากร สถานแห่งราชบัณฑิตสภา
ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 พ.ศ. 2485 ประเทศอิตาลียอมพ่ายแพ้แก่ฝ่ายสัมพันธมิตร ชาวอิตาเลียน ในประเทศไทยตกเป็นเชลยของประเทศเยอรมนี กับ ญี่ปุ่น แต่รัฐบาลไทยขอควบคุมตัวท่านศาสตราจารย์ คอร์ราโด เฟโรจี ไว้เอง และ หลวงวิจิตรวาทการ ได้ดำเนินการทำเรื่องราวขอโอนสัญชาติจากอิตาเลียนมาเป็นสัญชาติไทย โดยเปลี่ยนชื่อของท่านให้มาเป็น "นายศิลป์ พีระศรี" เพื่อคุ้มครองท่านไว้ ไม่ต้องไปถูกเกณฑ์เป็นเชลยศึกให้สร้าง ทางรถไฟสายมรณะ และ สะพานข้ามแม่น้ำแคว เมืองกาญจนบุรี
ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้เริ่มวางหลักสูตรวิชาจิตรกรรมและประติมากรรมขึ้นในระยะเริ่มแรกชื่อ โรงเรียนประณีตศิลปกรรม ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนศิลปากรแผนกช่าง และในปีพ.ศ. 2485กรมศิลปากรได้แยกจากกระทรวงศึกษาธิการไปขึ้นอยู่กับสำนักนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลในขณะนั้นโดย ฯพณฯจอมพลป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีตระหนักถึงความสำคัญของศิลปะว่าเป็นวัฒนธรรมที่สำคัญยิ่งสาขาหนึ่งของชาติ จึงได้มีคำสั่งให้ อธิบดีกรมศิลปากร ในขณะนั้นคือ พระยาอนุมานราชธน ดำเนินการปรับปรุงหลักสูตร และ ตรา พระราชบัญญัติยกฐานะโรงเรียนศิลปากรขึ้นเป็น มหาวิทยาลัยศิลปากร มีคณะจิตรกรรมประติมากรรม เป็นคณะวิชาเดียวของมหาวิทยาลัยศิลปากรเปิดสอนเพียง 2 สาขาวิชาคือ สาขา จิตรกรรม และสาขา ประติมากรรม โดยมี ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรีเป็นผู้อำนวยการสอนและดำรงตำแหน่งคณบดี คนแรก
ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลไทยให้ออกแบบปั้นและควบคุมการหล่อพระราชนุสาวรีย์ และอนุสาวรีย์สำคัญของประเทศไทย โดยการปั้นต้นแบบสำหรับพระปฐมบรมราชานุสรณ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2472 - 2477 อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี พ.ศ. 2484 พระราชานุสาวรีย์ของสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สวนลุมพินี และการออกแบบพระพุทธรูปปางลีลา ประธานพุทธมณฑล
ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ถึงแก่กรรมที่โรงพยาบาลศิริราช เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2505 รวมสิริอายุได้ 69 ปี 7เดือน 29 วัน

วันอาทิตย์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2557

แม่น้ำ คาโน คริสเทลส์




แม่น้ำ คาโน คริสเทลส์ (Cano Cristales) มีอีกชื่อเรียกว่า แม่น้ำห้าสี ซึ่งได้รับการยอมรับ
ว่าเป็นน้ำที่สวยที่สุดในโลก อยู่ที่เมือง La Macarena ประเทศโคลัมเบีย แม่น้ำนี้มีระยะทาง
ยาวประมาณ 100 กิโลเมตร มีสีสันที่สวยงามสร้างความประทับใจต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับ
ฤดูกาลและสภาพอากาศ ซึ่งสีสันที่เกิดขึ้นนี้ก็เนื่องมาจาก พืชใต้น้ำ อย่างสาหร่ายและมอสส์
นานาพันธุ์ ที่มีสีแตกต่างกัน และเจริญเติบโตอยู่ใต้น้ำ พากันบานสะพรั่งอย่างพร้อมเพียงกัน 
เมื่อได้รับแสงแดด จึงทำให้สะท้อนสีเรืองรองผ่านผืนน้ำ ถือเป็นความงดงามอันน่าเหลือเชื่อ
ด้วยเหตุที่บริเวณก้นแม่น้ำ คาโน คริสเทิล นั้น เป็นโขดหิน หรือแผ่นหินสลับซ้อนกันอยู่ และ
ถูกปกคลุมด้วยพืชน้ำจำพวกมอสส์( Mosse ) และสาหร่าย( Algae ) สีเขียว เมื่อมีระดับน้ำที่
เหมาะสม บรรดาสาหร่าย และมอสส์ทั้งหลาย ก็จะได้รับแสงแดดที่พอเพียงจนทำให้
พร้อมใจกันเบ่งบานอวดสีสัน รอให้ผู้คนเข้าไปชมความงามอย่างเป็นธรรมชาติ แต่การจะ
เดินทางไปที่แม่น้ำนี้ไม่มีถนนตัดผ่านดังนั้นจึงต้องขี่ม้าเข้าไปเท่านั้น

วันพุธที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2557


Pendont mes vacances , j'ai visité beaucoup d' îles tourisques. 

je suis allée à koh chang et koh samet avec ma famille. 

j'ai nagè plongé et j'ai mangé des fruits de mer.

วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

เช เกวารา



  เช เกวารา (Che Guevara หรือชื่อจริง Ernesto Rafael Guevara de la Serna) นักปฏิวัติผู้ยิ่งใหญ่แห่งละตินอเมริกา เสียชีวิต เชเกิดเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2471 (ข้อมูลบางแห่งบอกว่าวันที่ 14 พฤษภาคม 2471 เพราะมารดาต้องการปกปิดว่าเธอตั้งครรภ์ก่อนแต่ง) เชเป็นลูกครึ่งไอริช-สเปน เกิดในครอบครัวชนชั้นกลางแห่งเมืองโรซาริโอ (Rosario) ประเทศอาร์เจนตินา เรียนแพทย์ที่มหาวิทยาลัยบูเอโนสไอเรส (University of Buenos Aires) ตอนที่เรียนอยู่ปีสุดท้ายเขากับเพื่อน อัลเบอร์โต กรานาโด (Alberto Granado) ได้ขี่มอร์เตอร์ไซค์ (Norton 1939, 500 cc.) ท่องเที่ยวไปทั่วแถบละตินอเมริกา ทำให้เขาได้พบเห็นความยากลำบากของผู้คนในชนบท ความยากจน การเอารัดเอาเปรียบและการกดขี่ข่มเหงที่เลวร้าย ล้วนแต่มีสาเหตุมาจากความแตกต่างทางชนชั้น และรัฐบาลเผด็จการ (บันทึกการเดินทางในครั้งนี้ได้รับการตีพิมพ์ แปลเป็นภาษาอังกฤษในปี 2539 และสร้างเป็นภาพยนตร์ในปี 2547 ในชื่อเดียวกันว่า The Motorcycle Diaries) แล้วการเดินทางครั้งนี้ก็ได้เปลี่ยนชีวิตของว่าที่นายแพทย์หนุ่มอนาคตไกลให้กลายเป็นนักปฏิวัติผู้ยิ่งใหญ่ในเวลาต่อมา เชตัดสินใจทิ้งเสื้อกราวน์ เข้าร่วมกับขบวนการปฏิวัติในประเทศต่าง ๆ จนได้พบกับ ฟิเดล คาสโตร (Fidel Castro) ที่ประเทศแมกซิโกในปี 2498 ร่วมกันก่อตั้งกลุ่ม "26th of July Movement” เข้าปฏิวัติล้มล้างรัฐบาลเผด็จการของประเทศคิวบาได้สำเร็จในปี 2502 คาสโตรขึ้นเป็นประธานาธิบดี เชได้เป็นรัฐมนตรีดูแลนโยบายด้านการเงินการคลัง โดยใช้นโยบายสังคมนิยม-มาร์กซิสม์สะสางปัญหาเศรษฐกิจของคิวบาจนเริ่มฟื้นจากวิกฤติ ในปี 2508 เชก็ละจากคิวบาเดินทางไปร่วมปฏิวัติในประเทศต่าง ๆ เช่น คองโก เวเนซูเอลา เปรู เวียดนาม กัวเตมาลา และที่สุดท้ายคือประเทศโบลิเวีย ในที่สุดเชก็ถูกทหารฝ่ายรัฐบาลโบลิเวีย (ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก CIA ของสหรัฐอเมริกา) จับกุมตัวได้และยิงเสียชีวิต ข่าวการตายของเชได้สร้างความเศร้าสลดใจมาให้ชาวละตินอเมริกาอย่างมาก หลังจากนั้นเขาก็ได้กลายมาเป็นแรงบันดาลใจให้กับนักต่อสู้เพื่อเอกราช สิทธิเสรีภาพและความเสมอภาคและเป็นแรงบันดาลใจให้แก่คนหนุ่มสาวต่อสู้กับความอยุติธรรมมาจนทุกวันนี้


วันศุกร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557


 Robert "Bob" Nesta Marley

 

 โรเบิร์ต บ็อบ เนสตา มาร์เลย์ (อังกฤษ: Robert "Bob" Nesta Marley) นักดนตรีชาวจาเมกา เกิดเมื่อวันพุธ ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2488 เป็นบุตรชายคนเดียวของ นาง ซีเดลล่า กับ ร้อยเอก นอร์วัล มาร์เลย์ ในชุมชนคนผิวดำ เมืองเชนต์แอนน์ ประเทศจาเมกา มีชื่อเต็มว่า เขาใช้ชีวิตในวัยเด็ก และเติบโตท่ามกลางชุมชนทาสในครอบครัวที่แตกแยก ปี พ.ศ. 2500 มารดาของเขาอพยบครอบครัวเข้าสู่เมืองหลวง คือ กรุงคิงส์ตัน อาศัยอยู่ในสลัม เทรนช์ทาวน์ ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของคนยากจน มีวิถีชีวิตตามความเชื่อดั่งเดิมของคนดำ คือเชื่อว่าตนเป็นลูกหลานของกษัตริย์โซโลมอน และ เป็นชนชาติยิวพลัดถิ่น รอวันกลับสู่แผ่นดินของตน ถิ่นนี้เป็นแหล่งกำเนิดวัฒนธรรมและ ลัทธิรัสตาฟาเรียนิสม์ (rastafarianism) ชีวิตวัยเด็กบ็อบมีนิสัยเห็นแก่ตัว แต่ไม่มีนิสัยลักขโมยแบบเด็กสลัมทั่วไปเขารักเพื่อน และทำทุกอย่างเพื่อเพื่อน อายุ 17 ปีเขาก็เริ่มทุ่มเทให้กับการร้องเพลงฝึกฝนอย่างจริงจัง เริ่มจากการร้องในโรงภาพยนตร์ และไช้เวลาหลังจากเลิกเรียนหัดร้องเพลงกับเพื่อนๆแทนการทำการบ้าน เหมือนพระเจ้าประทานโอกาสมาสู่เขา เมื่อได้มีโอกาสเรียนรู้ด้านดนตรี จาก โจฮิกก์ส ศาสตราจารย์ข้างถนนที่มีความสามารถทางดนตรีอย่างเยี่ยมยอด เขาเริ่มเรียนรู้เกี่ยวกับดนตรีอย่างจริงจัง

นถึงปี พ.ศ. 2505 ก็เริ่มก่อตั้งวงดนตรีกับ บันนี และ ปีเตอร์ แมคอินทอช เล่นเพลงป๊อปอเมริกาเพื่อหาเงินเลี้ยงชีพในระหว่างฝึกฝนด้านดนตรี และเริ่มมีแผ่นเสียงของตนเองออกจำหน่ายในปีนั้น ปี พ.ศ. 2506 บ็อบ มาร์เลย์ ก็ก่อตั้งวงดนตรีชื่อ เดอะ เวลลิงรูดบอยส์ กับเพื่อนอีก 6 คน วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 1966 แต่งงานครั้งแรกกับ ริต้า แอนเดอร์สัน ปี พ.ศ. 2503 จังหวะเพลงสกาเริ่มช้าลงเปลี่ยนเป็น ร็อกสเตดี จนผสมผสานระหว่างอเมริกากับจาไมก้ากลายมาเป็น ดนตรีที่เรียกว่า เร็กเก้ แต่ยังไม่เป็นที่นิยมเพราะกระแสเพลงร็อกยังร้อนแรงอยู่ เวลาผ่านไปบทเพลงเร็กเก้เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น และมีผลงานเพลงแนวเร็กเก้เจ้าแรกผลิตแผ่นเสียงออกสู่ตลาดใน ปี พ.ศ. 2511 เจ้าของผลงาน คือ ทูตส์ ฮิบเบิร์ต แห่งวง เดอะ เมย์ตัลส์

งหวะเร็กเก้เป็นจังหวะที่เน้นความสำคัญของกลองและเบส การให้จังหวะของกลอง และเครื่องเป่าจังหวะการเคาะที่แตกต่างจากจังหวะร็อก คืออยู่ที่จังหวะ 1-3 ในขณะที่ร็อกอยู่ที่ 2-3 ส่วนเนื้อหาของบทเพลงสะท้อนถึงมุมมองชีวิตของชาวลัทธิรัสตาฟาเรียน และวิพากษ์วิจารณ์สังคมตามมุมมองของชาวรัสตา ปี พ.ศ. 2509 ประเทศจาไมก้า ตกอยู่ในภาวะร้อนระอุบทเพลงเนื้อหาเริ่มร้อนแรงขึ้นอันเป็นผลมาจากการปราบ จลาจลสงครามระหว่างสีผิวในปี พ.ศ. 2508 ติดตามด้วยกระแสต่อต้านคนดำ และการไล่รื้อสลัมทำหมู่บ้านจัดสรรในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2509 และการประทะของกลุมชนที่เข้าข้างฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านอันได้แก่พรรค อนุรักษนิยมแจแอลพี และพรรค สังคมนิยมพีเอ็นพีฝ่ายค้าน

ธันวาคม ปี พ.ศ. 2519 บ็อบและเพื่อนร่วมวงถูกลอบยิงระหว่าซ้อมดนตรีเพื่อนแสดงในคอนเสิร์ต smaile jamaicaเพื่อปรองดองความขัดแย้งของฝ่ายต่างไนจาไมก้าตามคำขอของ นาย แมนเลย์ แห่งพรรคสังคมนิยมพีเอ็นพี ที่ บ็อบ ถือหางอยู่

นที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2523 บ็อบ มาร์เลย์ได้รับเชิญไห้ร่วมเล่นดนตรีในพิธีเฉลิมฉลองเอกราชของประเทศ ซิมบับเว ที่เคยป็นอาณานิคมของอังกฤษตั้งแต่ปี พ.ศ. 2508 ซิมบับเว เป็นประเทศเอกราชลำดับที่ 50 ของทวีปอัฟฟริกา

นจันทร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2524 เวลา 11.45 น. บ็อบ มาร์เลย์ ราชาเร็กเก้ เสียชีวิตที่ โรงพยาบาลชีดาร์ ออฟ เลบานอน ในไมอามี่ ประเทศอเมริกา รวมอายุ 36 ปี ด้วยสาเหตุ คือโรคมะเร็ง ที่เริ่มจากแผลที่นิ้วเท้าจากการเตะฟุตบอลกีฬาที่เขาชื่นชอบ ศพของบ็อบ มาร์เลย์ ถูกนำไปฝังที่หลักเก้า บ้านเกิด ศพนอนภายในโลงสีบรอนซ์สวมเจ็คเก็ตผ้าเดนิม นิ้วมือขวาวางบนคัมภีร์ไบเบิลเปิดกางไว้ที่ บท psalm 23 ส่วนมือซ้าย วางทาบบนกีตาร์ กิ๊บสัน-เลสพอล สีแดงเพลิงกีตาร์คู่ใจของเขา

 Vasco da Gama

 

  

  

วัชกู ดา กามา (โปรตุเกส: Vasco da Gama; ประมาณ พ.ศ. 2003-2068) หรือ วาสโก ดา กามา ตามการออกเสียงในภาษาอังกฤษ เป็นนักเดินเรือสำรวจชาวโปรตุเกส เกิดที่เมืองซีนิช แคว้นอาเลงเตชู ประเทศโปรตุเกส สร้างประวัติศาสตร์ด้วยการค้บพบเส้นทางการเดินเรือจากยุโรปสู่อินเดียหว่างปี พ.ศ. 2040-42 โดยแล่นเรือตรงจากกรุงลิสบอน ไปถึงชายฝั่งมะละบาร์ ตะวันตกเฉียงใต้ของอินเดีย โดยแล่นเรืออ้อมผ่านแหลมกู๊ดโฮป ทางตอนใต้ของแอฟริกาซึ่งบาร์ตูลูเมว ดีอัช (Bartolomeu Dias) เป็นผู้ค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2031

วัชกู ดา กามา ได้รับมอบหมายจากกษัตริย์มานูเอล ที่ 1 แห่งโปรตุเกสให้ไปค้นหาอินเดียที่เชื่อกันในสมัยนั้นว่าเป็นแผ่นดินคริสเตียนที่เล่าลือแพร่หลายเกี่ยวกับ เปรสเตอร์ จอห์น พระคริสเตียนแห่งอินเดียผู้ครอบครองนคร 100 แห่งในโลกตะวันออก รวมทั้งเพื่อการหาลู่ทางเปิดตลาดค้าขายกับโลกตะวันออก

ต่อมา อีกครั้งหนึ่งระหว่างปี พ.ศ. 2045-2047 วัชกู ดา กามา ได้นำกองเรือมุ่งสู่กาลิกัต (Calicat) เพื่อล้างแค้นจากการที่กลุ่มนักสำรวจชาวโปรตุเกสที่เปดรู อัลวาริช กาบราล (นักสำรวจสำคัญของโปรตุเกส) ปล่อยไว้ที่นั่นถูกฆ่า ในปี พ.ศ. 2067 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอุปราชแห่งอินเดีย แต่ต่อมาไม่นาน วัชกู ดา กามา ก็ล้มป่วยและเสียชีวิตที่โคชิน (Cochin) และได้รับการนำศพกลับโปรตุเกส

วัชกู ดา กามา มีชีวิตอยู่ในสมัยอยุธยาตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ และสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (พระเชษฐาธิราช
 อนุสัญญาเจนีวา

อนุสัญญาเจนีวา (อังกฤษ: Geneva Conventions) คือสนธิสัญญาสี่ฉบับ และพิธีสารสามฉบับที่วางมาตรฐานในการปฏิบัติต่อผู้เป็นเหยื่อของสงครามอย่างมีมนุษยธรรม ได้รับการรับรองเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2492 และเริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2493 มีเป้าหมายให้การสงเคราะห์ทหาร และพลเรือนที่ได้รับผลกระทบจากสงคราม โดยประสานงานใกล้ชิดกับคณะกรรมการกาชาดสากล (ไอซีอาร์ซี)

  จากการประชุมที่จัดโดยรัฐบาลประเทศสวิตเซอร์แลนด์และประเทศต่าง ๆ ในยุโรปอีก12 ประเทศในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2507ข้อตกลงที่ประชุมได้รับการร่างและลงนามโดยประเทศต่าง ๆ ที่เข้าร่วมประชุมในครั้งนั้น ซึ่งเราเรียกข้อตกลงนี้ว่า อนุสัญญาเจนีวา เป็นอนุสัญญาฉบับแรก ซึ่งมีสาระสำคัญว่าด้วยการสงเคราะห์ผู้บาดเจ็บจากสนามรบ ซึ่งอนุสัญญานี้ได้รับการแก้ไขปรับปรุงจากการประชุมระหว่างประเทศในเวลาต่อ มา การแก้ไขปรับปรุงครั้ง ล่าสุด คือการประชุมในปี พ.ศ. 2492 และได้ตกลงประกาศเป็นอนุสัญญาเจนีวาจำนวน 4 ฉบับ ได้ลงนามกันในปี พ.ศ. 2492 โดยมีหลักการมูลฐานสำคัญ 3 ประการ คือ มนุษยธรรม ความเสมอภาค และ ความไม่ลำเอียง และอนุสัญญาทั้ง 4 ฉบับมีสาระสำคัญโดยสังเขปดังนี้ 

อนุสัญญาฉบับที่ 1 ว่าด้วยการปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของผู้บาดเจ็บ ผู้ป่วยในกองทัพที่อยู่ในสนามรบให้มี สภาพดีขึ้น 

อนุสัญญาฉบับที่ 2 ว่าด้วยการปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของผู้บาดเจ็บ ผู้ป่วยและลูกเรือที่อับปางของกอง กำลังรบในทะเล ให้มีสภาพดีขึ้น 

อนุสัญญาฉบับที่ 3 ว่าด้วยการปฏิบัติต่อเชลยศึก 

อนุสัญญาฉบับที่ 4 ว่าด้วยการปกป้องคุ้มครองบุคคลพลเรือนในระหว่างสงคราม หรือการขัดแย้งทางกำลังทหารประเทศต่าง ๆ ให้สัตยาบันต่ออนุสัญญานี้ ดังนี้

 - การรักษาพยาบาล แก่เพื่อนและศัตรูโดยเท่าเทียมกัน

- เคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เกียรติของมนุษย์ สิทธิในครอบครัว ในการนับถือศาสนาและเกียรติของสตรี

- ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ ไปเยี่ยมนักโทษสงคราม และประชาชนที่อยู่ในค่ายกักกัน โดยพูดกับผู้ถูกกักขังอย่างไม่มีพยานร่วมรับรู้

- ห้ามการกระทำที่ไม่มีมนุษยธรรม การทรมาน การประหารชีวิต การเนรเทศ จังตัวประกัน สอบสวนหมู่การกระทำที่รุนแรงและทำลายทรัพย์สินส่วนตัวอย่างไม่ปรานี

นอกจากนี้ อนุสัญญาเจนีวาฉบับนี้ ยังได้กล่าวถึงข้อกำหนดเกี่ยวกับการคุ้มครองพลเรือนให้พ้นจากภัยสงคราม ระหว่างประเทศและคุ้มครองแก่พวกกบฏให้พ้นจากการถูกทรมานในกรณีเกิดสงคราม กลางเมืองภายในประเทศ รวมทั้งมีสาระอื่น ๆ อีก เช่น เงื่อนไขการลงโทษเพื่อคุ้มครองผู้ถูกต้องโทษ และการส่งตัวนักโทษสงครามกลับสู่ประเทศบ้านเกิดเมืองนอนของตน เป็นต้น

วันอังคารที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2557

สนธิสัญญาแวร์ซาย



     สนธิสัญญาแวร์ซาย  (Treaty of Versailles)  เป็นสนธิสัญญาสันติภาพที่จัดทำขึ้นเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1919 ณ พระราชวังแวร์ซาย ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นการยุติสถานะสงครามระหว่างฝ่ายสัมพันธมิตรและจักรวรรดิเยอรมัน ซึ่งเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ส่วนกลุ่มประเทศฝ่ายมหาอำนาจกลางอื่น ๆ ได้มีการตกลงยกเลิกสถานภาพสงครามด้วยสนธิสัญญาฉบับอื่น แม้จะได้มีการลงนามสงบศึกตั้งแต่วันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 แล้วก็ตาม การประชุมสันติภาพที่กรุงปารีสกินเวลานานกว่าหกเดือน จึงได้มีการสรุปสนธิสัญญาฯ
     
     ลจากสนธิสัญญาฯ ได้กำหนดให้จักรวรรดิเยอรมันต้องยินยอมรับผิดในฐานะผู้ก่อสงครามแต่เพียงผู้เดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภายใต้ข้อตกลงข้อ 231 (ในภายหลังรู้จักกันว่า "อนุประโยคความรับผิดในอาชญากรรมสงคราม") และในข้อ 232-248 เยอรมนีถูกปลดอาวุธ ถูกจำกัดอาณาเขตดินแดน รวมไปถึงต้องชดใช้ค่าปฏิกรรมสงครามให้แก่กลุ่มประเทศฝ่ายไตรภาคีเป็น จำนวนมหาศาล เมื่อปี ค.ศ. 1921 ได้ประเมินว่ามูลค่าของค่าปฏิกรรมสงครามที่เยอรมนีจะต้องจ่ายนั้นสูงถึง 132,000 ล้านมาร์ก (ราว 31,400 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ หรือ 6,600 ล้านปอนด์) อันเป็นจำนวนที่มากเกินกว่าจะยอมรับได้และไม่สร้างสรรค์ และเยอรมนีอาจต้องใช้เวลาชำระหนี้จนถึง ค.ศ. 1988 การชำระค่าปฏิกรรมสงครามนัดสุดท้ายมีขึ้นเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ. 2010 วันครบรอบยี่สิบปีการรวมประเทศเยอรมนี และเก้าสิบสองปีพอดีหลังสงครามยุติ

       สนธิสัญญาดังกล่าวได้ถูกบ่อนทำลายด้วยเหตุการณ์หลายอย่างที่เกิดขึ้นภายหลังปี ค.ศ. 1932 จนกระทั่งร้ายแรงขึ้นเมื่อคริสต์ทศวรรษ 1930 การแก่งแย่งและเป้าหมายที่ขัดแย้งกันเองของฝ่ายสัมพันธมิตรผู้ชนะสงครามทำ ให้ไม่มีฝ่ายใดพอใจผลการประนีประนอมที่ได้มาเลย การที่ฝ่ายสัมพันธมิตรไม่รื้อฟื้นความสัมพันธ์หรือทำให้เยอรมนีอ่อนแออย่าง ถาวร ทำให้สนธิสัญญาดังกล่าวเป็นปัจจัยหลักซึ่งนำไปสู่ความขัดแย้งในภายหลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สงครามโลกครั้งที่สอง


มาร์ติน ลูเทอร์ 




 มาร์ติน ลูเทอร์  เป็นหนึ่งในผู้ปฏิรูปศาสนาคริสต์ โดยแยกมาเป็นนิกายโปรเตสแตนต์ เพราะไม่เห็นด้วยกับคำสอนของคริสตจักรโรมันคาทอลิกบางข้อ โดยการปฏิรูปนี้เกิดขึ้นในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา เรียกว่าการปฏิรูปศาสนาฝ่ายโปรเตสแตนต์ นิกายที่ถือหลักเทววิทยาตามแนวคิดของลูเทอร์เรียกว่านิกายลูเทอแรนซึ่งเป็นนิกายย่อยในนิกายโปรเตสแตนต์

        มาร์ติน ลูเทอร์  เกิดที่เมือง ไอสเลเบน นครแซกโซนี ประเทศเยอรมนีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1483 บิดามารดาเป็นคนยากจนและไม่ได้รับศึกษา เมื่อเติบโตขึ้นก็ไม่มีเงินจะให้ลูเทอร์เข้าโรงเรียน ลูเทอร์ต้องเที่ยวร้องเพลงขอทานตามบ้านต่างๆ เพื่อหาเงินมาจ่ายค่าเล่าเรียนในโรงเรียน เผอิญมีหญิงมั่งคั่งคนหนึ่งเกิดความเมตตาได้ช่วยเหลือให้เข้าอยู่ใน มหาวิทยาลัยเมื่อ ค.ศ. 1500

     ลูเทอร์ได้ศึกษาเทววิทยา วรรณคดี ดนตรี และที่เอาใจใส่มากที่สุดคือกฎหมาย บิดาของลูเทอร์ก็ปรารถนาให้ลูเธอร์เป็นนักกฎหมาย แต่เมื่ออายุ 22 ปีเกิดเหตุการณ์หนึ่งคือเพื่อนของลูเทอร์ถูกฆ่าตายในเวลาดวลต่อสู้กับบุคคล หนึ่ง ทำให้ลูเทอร์กลายเป็นคนกลัวผี ขี้ขลาด ต่อมาอีก 2-3 วันลูเทอร์จะเข้าประตูมหาวิทยาลัย ก็เกิดฝนตกฟ้าร้อง ฟ้าผ่ามาใกล้ๆ ลูเทอร์ได้อธิษฐานว่า ถ้ารอดพ้นไปได้จะบวชเป็นบาทหลวง ต่อมาในไม่ช้าในวันที่ 17 มกราคม ค.ศ.1505 ลูเธอร์ก็เข้าไปอยู่ในอารามคณะออกัสติเนียนในมหาวิทยาลัยวิตเทนบูร์ก ตั้งหน้าศึกษาคัมภีร์ไบเบิลอย่างเอาใจใส่ เป็นคนเฉลียวฉลาด พูดเก่ง จนในที่สุดก็ได้เป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยนั้น

     ในปี ค.ศ. 1511 ขณะที่ใช้ชีวิตอยู่ในอาราม ลูเทอร์ได้มีโอกาสไปแสวงบุญที่โรม และได้พบเห็นชีวิตของสันตะปาปาโอ่โถง หรูหราจนเกือบไม่มีกษัตริย์องค์ใดสู้ได้ และเห็นว่านักบวชไม่ควรดำเนินชีวิตอย่างนั้น

    จนในปีค.ศ. 1515 สันตะปาปาเลโอที่ 20 อยากจะสร้างโบสถ์ให้งดงามสมตำแหน่งจึงได้ตั้งบัญญัติใหม่ว่า ถึงแม้จะทำความผิดเป็นอุกฉกรรจ์มหันตโทษเพียงไร ก็สามารถล้างบาปได้โดยซื้อใบฎีกาไถ่บาป และบรรดานายธนาคารทั้งหลายในประเทศต่างๆก็ตกลงเป็นเอเยนต์รับฝากเงินที่คน ทั้งหลายจะชำระล้างบาปโดยไม่ต้องส่งไปโรม ลูเทอร์ได้เริ่มวิพากษ์วิจารณ์ และเรียกประชุมผู้รู้ทั้งหลายมาปรึกษา โต้เถียงกับบัญญัติใหม่

      จนในปีค.ศ. 1517 เดือนตุลาคม ลูเทอร์ได้นำประกาศที่เรียกว่า "ญัตติ 95 ข้อ" (The 95 Theses) ไปปิดไว้ที่ประตู้หน้าโบสถ์เมืองวิตเทนบูร์ก ซึ่งมีเนื้อหาประณามการขายใบยกโทษบาปของสันตะปาปา และการกระทำที่เหลวแหลกอื่นๆ

         ในเดือนมิถุนายน ค.ศ.1520 ลูเทอร์ได้รับหมาย ”การตัดขาดจากศาสนา” (Excommunication) โดยที่ลูเทอร์ต้องออกจากเขตปกครองของจักรพรรดิ ไปหลบที่วอร์มส์พร้อมกับผู้ติดตามอีกจำนวนหนึ่ง ที่นั่นท่านได้แปลพันธสัญญาใหม่เป็นภาษาเยอรมัน และได้เขียนงานเกี่ยวกับพิธีกรรมต่างๆ ซึ่งมีทั้งพิธีมิสซาและศีลศักดิ์สิทธิ์
ซึ่งลูเทอร์ตั้งใจที่จะให้ชาวบ้านซึ่งไม่เข้าใจภาษาละติน สามารถเข้าถึงหลักคำสอนและมีส่วนร่วมในพิธีกรรมต่างๆได้

     ลูเทอร์ป่วยตายในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ปี ค.ศ. 1546 ขณะที่มีอายุได้ 62 ปี เขาได้เขียนข้อความสุดท้ายบนกระดาษแผ่นเล็กๆไว้ว่า เราเป็นขอทาน และนี่เป็นเรื่องจริง