วันศุกร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557


 Robert "Bob" Nesta Marley

 

 โรเบิร์ต บ็อบ เนสตา มาร์เลย์ (อังกฤษ: Robert "Bob" Nesta Marley) นักดนตรีชาวจาเมกา เกิดเมื่อวันพุธ ที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2488 เป็นบุตรชายคนเดียวของ นาง ซีเดลล่า กับ ร้อยเอก นอร์วัล มาร์เลย์ ในชุมชนคนผิวดำ เมืองเชนต์แอนน์ ประเทศจาเมกา มีชื่อเต็มว่า เขาใช้ชีวิตในวัยเด็ก และเติบโตท่ามกลางชุมชนทาสในครอบครัวที่แตกแยก ปี พ.ศ. 2500 มารดาของเขาอพยบครอบครัวเข้าสู่เมืองหลวง คือ กรุงคิงส์ตัน อาศัยอยู่ในสลัม เทรนช์ทาวน์ ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของคนยากจน มีวิถีชีวิตตามความเชื่อดั่งเดิมของคนดำ คือเชื่อว่าตนเป็นลูกหลานของกษัตริย์โซโลมอน และ เป็นชนชาติยิวพลัดถิ่น รอวันกลับสู่แผ่นดินของตน ถิ่นนี้เป็นแหล่งกำเนิดวัฒนธรรมและ ลัทธิรัสตาฟาเรียนิสม์ (rastafarianism) ชีวิตวัยเด็กบ็อบมีนิสัยเห็นแก่ตัว แต่ไม่มีนิสัยลักขโมยแบบเด็กสลัมทั่วไปเขารักเพื่อน และทำทุกอย่างเพื่อเพื่อน อายุ 17 ปีเขาก็เริ่มทุ่มเทให้กับการร้องเพลงฝึกฝนอย่างจริงจัง เริ่มจากการร้องในโรงภาพยนตร์ และไช้เวลาหลังจากเลิกเรียนหัดร้องเพลงกับเพื่อนๆแทนการทำการบ้าน เหมือนพระเจ้าประทานโอกาสมาสู่เขา เมื่อได้มีโอกาสเรียนรู้ด้านดนตรี จาก โจฮิกก์ส ศาสตราจารย์ข้างถนนที่มีความสามารถทางดนตรีอย่างเยี่ยมยอด เขาเริ่มเรียนรู้เกี่ยวกับดนตรีอย่างจริงจัง

นถึงปี พ.ศ. 2505 ก็เริ่มก่อตั้งวงดนตรีกับ บันนี และ ปีเตอร์ แมคอินทอช เล่นเพลงป๊อปอเมริกาเพื่อหาเงินเลี้ยงชีพในระหว่างฝึกฝนด้านดนตรี และเริ่มมีแผ่นเสียงของตนเองออกจำหน่ายในปีนั้น ปี พ.ศ. 2506 บ็อบ มาร์เลย์ ก็ก่อตั้งวงดนตรีชื่อ เดอะ เวลลิงรูดบอยส์ กับเพื่อนอีก 6 คน วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 1966 แต่งงานครั้งแรกกับ ริต้า แอนเดอร์สัน ปี พ.ศ. 2503 จังหวะเพลงสกาเริ่มช้าลงเปลี่ยนเป็น ร็อกสเตดี จนผสมผสานระหว่างอเมริกากับจาไมก้ากลายมาเป็น ดนตรีที่เรียกว่า เร็กเก้ แต่ยังไม่เป็นที่นิยมเพราะกระแสเพลงร็อกยังร้อนแรงอยู่ เวลาผ่านไปบทเพลงเร็กเก้เริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้น และมีผลงานเพลงแนวเร็กเก้เจ้าแรกผลิตแผ่นเสียงออกสู่ตลาดใน ปี พ.ศ. 2511 เจ้าของผลงาน คือ ทูตส์ ฮิบเบิร์ต แห่งวง เดอะ เมย์ตัลส์

งหวะเร็กเก้เป็นจังหวะที่เน้นความสำคัญของกลองและเบส การให้จังหวะของกลอง และเครื่องเป่าจังหวะการเคาะที่แตกต่างจากจังหวะร็อก คืออยู่ที่จังหวะ 1-3 ในขณะที่ร็อกอยู่ที่ 2-3 ส่วนเนื้อหาของบทเพลงสะท้อนถึงมุมมองชีวิตของชาวลัทธิรัสตาฟาเรียน และวิพากษ์วิจารณ์สังคมตามมุมมองของชาวรัสตา ปี พ.ศ. 2509 ประเทศจาไมก้า ตกอยู่ในภาวะร้อนระอุบทเพลงเนื้อหาเริ่มร้อนแรงขึ้นอันเป็นผลมาจากการปราบ จลาจลสงครามระหว่างสีผิวในปี พ.ศ. 2508 ติดตามด้วยกระแสต่อต้านคนดำ และการไล่รื้อสลัมทำหมู่บ้านจัดสรรในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2509 และการประทะของกลุมชนที่เข้าข้างฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านอันได้แก่พรรค อนุรักษนิยมแจแอลพี และพรรค สังคมนิยมพีเอ็นพีฝ่ายค้าน

ธันวาคม ปี พ.ศ. 2519 บ็อบและเพื่อนร่วมวงถูกลอบยิงระหว่าซ้อมดนตรีเพื่อนแสดงในคอนเสิร์ต smaile jamaicaเพื่อปรองดองความขัดแย้งของฝ่ายต่างไนจาไมก้าตามคำขอของ นาย แมนเลย์ แห่งพรรคสังคมนิยมพีเอ็นพี ที่ บ็อบ ถือหางอยู่

นที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2523 บ็อบ มาร์เลย์ได้รับเชิญไห้ร่วมเล่นดนตรีในพิธีเฉลิมฉลองเอกราชของประเทศ ซิมบับเว ที่เคยป็นอาณานิคมของอังกฤษตั้งแต่ปี พ.ศ. 2508 ซิมบับเว เป็นประเทศเอกราชลำดับที่ 50 ของทวีปอัฟฟริกา

นจันทร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2524 เวลา 11.45 น. บ็อบ มาร์เลย์ ราชาเร็กเก้ เสียชีวิตที่ โรงพยาบาลชีดาร์ ออฟ เลบานอน ในไมอามี่ ประเทศอเมริกา รวมอายุ 36 ปี ด้วยสาเหตุ คือโรคมะเร็ง ที่เริ่มจากแผลที่นิ้วเท้าจากการเตะฟุตบอลกีฬาที่เขาชื่นชอบ ศพของบ็อบ มาร์เลย์ ถูกนำไปฝังที่หลักเก้า บ้านเกิด ศพนอนภายในโลงสีบรอนซ์สวมเจ็คเก็ตผ้าเดนิม นิ้วมือขวาวางบนคัมภีร์ไบเบิลเปิดกางไว้ที่ บท psalm 23 ส่วนมือซ้าย วางทาบบนกีตาร์ กิ๊บสัน-เลสพอล สีแดงเพลิงกีตาร์คู่ใจของเขา

 Vasco da Gama

 

  

  

วัชกู ดา กามา (โปรตุเกส: Vasco da Gama; ประมาณ พ.ศ. 2003-2068) หรือ วาสโก ดา กามา ตามการออกเสียงในภาษาอังกฤษ เป็นนักเดินเรือสำรวจชาวโปรตุเกส เกิดที่เมืองซีนิช แคว้นอาเลงเตชู ประเทศโปรตุเกส สร้างประวัติศาสตร์ด้วยการค้บพบเส้นทางการเดินเรือจากยุโรปสู่อินเดียหว่างปี พ.ศ. 2040-42 โดยแล่นเรือตรงจากกรุงลิสบอน ไปถึงชายฝั่งมะละบาร์ ตะวันตกเฉียงใต้ของอินเดีย โดยแล่นเรืออ้อมผ่านแหลมกู๊ดโฮป ทางตอนใต้ของแอฟริกาซึ่งบาร์ตูลูเมว ดีอัช (Bartolomeu Dias) เป็นผู้ค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2031

วัชกู ดา กามา ได้รับมอบหมายจากกษัตริย์มานูเอล ที่ 1 แห่งโปรตุเกสให้ไปค้นหาอินเดียที่เชื่อกันในสมัยนั้นว่าเป็นแผ่นดินคริสเตียนที่เล่าลือแพร่หลายเกี่ยวกับ เปรสเตอร์ จอห์น พระคริสเตียนแห่งอินเดียผู้ครอบครองนคร 100 แห่งในโลกตะวันออก รวมทั้งเพื่อการหาลู่ทางเปิดตลาดค้าขายกับโลกตะวันออก

ต่อมา อีกครั้งหนึ่งระหว่างปี พ.ศ. 2045-2047 วัชกู ดา กามา ได้นำกองเรือมุ่งสู่กาลิกัต (Calicat) เพื่อล้างแค้นจากการที่กลุ่มนักสำรวจชาวโปรตุเกสที่เปดรู อัลวาริช กาบราล (นักสำรวจสำคัญของโปรตุเกส) ปล่อยไว้ที่นั่นถูกฆ่า ในปี พ.ศ. 2067 ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอุปราชแห่งอินเดีย แต่ต่อมาไม่นาน วัชกู ดา กามา ก็ล้มป่วยและเสียชีวิตที่โคชิน (Cochin) และได้รับการนำศพกลับโปรตุเกส

วัชกู ดา กามา มีชีวิตอยู่ในสมัยอยุธยาตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ และสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (พระเชษฐาธิราช
 อนุสัญญาเจนีวา

อนุสัญญาเจนีวา (อังกฤษ: Geneva Conventions) คือสนธิสัญญาสี่ฉบับ และพิธีสารสามฉบับที่วางมาตรฐานในการปฏิบัติต่อผู้เป็นเหยื่อของสงครามอย่างมีมนุษยธรรม ได้รับการรับรองเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2492 และเริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2493 มีเป้าหมายให้การสงเคราะห์ทหาร และพลเรือนที่ได้รับผลกระทบจากสงคราม โดยประสานงานใกล้ชิดกับคณะกรรมการกาชาดสากล (ไอซีอาร์ซี)

  จากการประชุมที่จัดโดยรัฐบาลประเทศสวิตเซอร์แลนด์และประเทศต่าง ๆ ในยุโรปอีก12 ประเทศในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2507ข้อตกลงที่ประชุมได้รับการร่างและลงนามโดยประเทศต่าง ๆ ที่เข้าร่วมประชุมในครั้งนั้น ซึ่งเราเรียกข้อตกลงนี้ว่า อนุสัญญาเจนีวา เป็นอนุสัญญาฉบับแรก ซึ่งมีสาระสำคัญว่าด้วยการสงเคราะห์ผู้บาดเจ็บจากสนามรบ ซึ่งอนุสัญญานี้ได้รับการแก้ไขปรับปรุงจากการประชุมระหว่างประเทศในเวลาต่อ มา การแก้ไขปรับปรุงครั้ง ล่าสุด คือการประชุมในปี พ.ศ. 2492 และได้ตกลงประกาศเป็นอนุสัญญาเจนีวาจำนวน 4 ฉบับ ได้ลงนามกันในปี พ.ศ. 2492 โดยมีหลักการมูลฐานสำคัญ 3 ประการ คือ มนุษยธรรม ความเสมอภาค และ ความไม่ลำเอียง และอนุสัญญาทั้ง 4 ฉบับมีสาระสำคัญโดยสังเขปดังนี้ 

อนุสัญญาฉบับที่ 1 ว่าด้วยการปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของผู้บาดเจ็บ ผู้ป่วยในกองทัพที่อยู่ในสนามรบให้มี สภาพดีขึ้น 

อนุสัญญาฉบับที่ 2 ว่าด้วยการปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของผู้บาดเจ็บ ผู้ป่วยและลูกเรือที่อับปางของกอง กำลังรบในทะเล ให้มีสภาพดีขึ้น 

อนุสัญญาฉบับที่ 3 ว่าด้วยการปฏิบัติต่อเชลยศึก 

อนุสัญญาฉบับที่ 4 ว่าด้วยการปกป้องคุ้มครองบุคคลพลเรือนในระหว่างสงคราม หรือการขัดแย้งทางกำลังทหารประเทศต่าง ๆ ให้สัตยาบันต่ออนุสัญญานี้ ดังนี้

 - การรักษาพยาบาล แก่เพื่อนและศัตรูโดยเท่าเทียมกัน

- เคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เกียรติของมนุษย์ สิทธิในครอบครัว ในการนับถือศาสนาและเกียรติของสตรี

- ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ ไปเยี่ยมนักโทษสงคราม และประชาชนที่อยู่ในค่ายกักกัน โดยพูดกับผู้ถูกกักขังอย่างไม่มีพยานร่วมรับรู้

- ห้ามการกระทำที่ไม่มีมนุษยธรรม การทรมาน การประหารชีวิต การเนรเทศ จังตัวประกัน สอบสวนหมู่การกระทำที่รุนแรงและทำลายทรัพย์สินส่วนตัวอย่างไม่ปรานี

นอกจากนี้ อนุสัญญาเจนีวาฉบับนี้ ยังได้กล่าวถึงข้อกำหนดเกี่ยวกับการคุ้มครองพลเรือนให้พ้นจากภัยสงคราม ระหว่างประเทศและคุ้มครองแก่พวกกบฏให้พ้นจากการถูกทรมานในกรณีเกิดสงคราม กลางเมืองภายในประเทศ รวมทั้งมีสาระอื่น ๆ อีก เช่น เงื่อนไขการลงโทษเพื่อคุ้มครองผู้ถูกต้องโทษ และการส่งตัวนักโทษสงครามกลับสู่ประเทศบ้านเกิดเมืองนอนของตน เป็นต้น