วันอังคารที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

ไมเคิลแองเจโล
di Lodovico Buonarroti Simoni



            ไมเคิลแอนเจโลหรือมิเคลันเจโล บูโอนารอตติ (MICHELANGELO di Lodovico Buonarroti Simoni ) ศิลปินชาวฟลอเรนซ์ เกิดเมื่อวันที่ 6 มีนาคม ค.ศ. 1475 ที่หมู่บ้านคาเปรเซ (Caprese) ในคาเซนติโน (Casentino) ห่างจากนครฟลอเรนซ์ประมาณ 40 ไมล์ บิดาเป็นข้าราชการชื่อ Lodovico di Leo nardo Buonarrot มีชีวิตอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1446-1531 มารดาชื่อ Francesa di Neri มีชีวิตอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1455-1481 หลังจากเขาเกิดได้ 2-3 สัปดาห์ ครอบครัวก็อพยพเข้าไปอยู่ในนครฟลอเรนซ์ ในปี ค.ศ. 1488 มิเคลันเจโลก็ได้เข้าฝึกงานกับโดมิเนโก จิร์ลันไดโอ (Domemico Ghirlandaio) จิตรกรชาวฟลอเรนซ์ผู้เชี่ยวชาญในการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังแบบปูนเปียกหรือเฟรสโก ( Fresco ) ต่อมาเขาได้ใช้ความรู้นี้เมื่อเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนังที่วิหารซิสติน ( The Sistine Chapel ) ในวาติกันในอีก 20 ปีถัดมา ระหว่างสามปีที่ฝึกงานอยู่ที่มิเคลันเจโลได้ศึกษางานจิตรกรรมและวาดเส้นด้วยการลาออกงานจิตรกรรมของสิลปินรุ่นก่อน ๆ ได้แก่ คัดลอกผลงานจิตรกรรมของจอตโต ( Giotto di Bondone จิตรกรมชั้นครูชาวฟลอเรนซ์ยุคแรก ๆ มีชีวิตอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1266-1337) และมาที่แวคซิดอ ( Tommaso di Ser Giovan ni di Mone เรียกกันโดยทั่วไปว่า Masaccio เป็นจิตรกรรมเรเนสซองค์ยุคแรก เกิดเมื่อค.ศ. 1401- ไม่ทราบปีที่ถึงแก่กรรม ) เป็นการฝึกฝนและการศึกษางานจิตรกรรมขั้นพื้นฐาน ต่อมาในปี ค.ศ. 1489 มิเคลันเจโลได้เข้าเรียนและฝึกงานในสายตระกูลเมตดิชิ ซึ่งมีลักษณะโรงเรียนคล้ายศิลปะ ต่อมาได้พัฒนามาเป็นสถาบันศิลปะหรือ อะคาเดมี ( Academy ) ภายใต้การอุปถัมภ์ของ ลอเรนโซ ( Lorenzo de Medici หรือ Lorenzo the Magnificent ) อันเป็นโอกาสสำคัญทำให้มริเคลันเจโลได้ศึกษางานประติมากรรมของกรีกและโรมันที่ตระกูลเมดิชิสะสมไว้นอกจากนี้เขายังได้สมาคมกับศิลปิน นักปรัชญาและกวีคนสำคัญ ๆ ในยุคนั้น การได้คบหาสมาคมกับบุคคลเหล่านั้นทำให้เขาได้รับอิทธิพลทางความคิดปรัชญามาผสมผสานกับแนวคิดในการสร้างสรรค์งานศิลปะของตน แทนที่ให้ความสำคัญกับทักษะฝีมือเท่านั้น

หลังจากตระกูลเมดิชิหมดอำนาจลง ในปีค.ศ.1492มิเคลันเจโลได้เดินทางไปเมืองโบโลญา เพื่อรับจ้างทำงานประติมากรรมประดับสุสาน ต่อมาระหว่างปี ค.ศ. 1496-1501 เขาได้เดินทางไปพำนักอยุ่นกรุงโรม เพื่อรับจ้างเขียนรูปและรับงานประติมากรรมต่างๆ ในช่วงเวลานี้เองเขามีโอกาสสร้างผลงานสำคัญที่ทำให้ชื่อเสียงของเขาได้รับการกล่าวขวัญในฐานะประติมากรยิ่งใหญ่แห่งยุค คือ ประติมากรรมหินอ่อน “ ปิเอตา ” ( Pieta ) ซึ่งเป็นพระเยซูนอนอยุ่บนตักพระแม่มาเรียสลักหินอ่อนเนื้อขาวบริสุทธิ์สุง 5 ฟุต 9 นิ้ว แสดงให้เห็นความสามารถในการแกะสลักที่มีฝีมือสูงยิ่งและแฝงไว้ด้วยปรัชญาของคริสต์ศาสนางานประติมากรรมชิ้นนี้ปัจจุบันชิ้นอยู่ที่โบสถ์เวนตืปีเตอร์กรุงโรมเมื่อแกะสลักรูปปีเอตาเสร็จแล้วเขาได้เดินทางกลับฟลอเรนซ์ในปีค.ศ.1501เพื่อรับงานแกะสลักหินอ่อนที่สำคัญอีกชิ้นหนึ่งคือ ประติมากรรมหินอ่อนรูป “ เดวิด ” ( David ) ซึ่งแกะสลักจากแท่งหินอ่อนขนาดใหญ่ยาวประมาณ 18 ฟุต เป็นแท่งหินอ่อนเก่าแก่ที่วางทิ้งไว้โดยไม่มีประติมากรคนใดกล้าแกะสลัก มิเคลันเจโลใช้เวลาถึง 4 ปี เพื่อนฤมิตรแท่งหินอ่อนก้อนใหญ่นี้ให้เป็นชายหนุ่มรูปงามและเมื่อเขาแกะสลักรูปเดวิดเสร็จมิเคลันเจดลกลายเป็นวีรบุรุษของชาวฟลอเรนซ์มีชื่อเสียงขจรขจายไปทั่วอิตาลี(รูปเดวิดได้ทำจำลองขึ้นหลายรูปรูปต้นแบบปัจจุบันอยู่ที่ Gallerlia dellAcademiaนครฟลอเรนซ์เป็นศิลปกรรมเด่นที่ได้รับความสนใจมากที่สุดชิ้นหนึ่งของพิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งนี้

มิเคลันเจโลหรือไมเคิลแอนเจโลเกิดมาเพื่อสร้างสรรค์ผลงานศิลปะอย่างแท้จริงเขาทำงานศิลปะอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตตั้งแต่เด็กจนถึงสองสามวันก่อนที่จะถึงแก่แรรมในวันที่18กุมภาพันธ์ ค.ศ.1564 เวลาประมาณ 16.30 น. ที่บ้านพักกรุงโรม อายุ 89 ปี ขณะที่แกะสลักงานประติมากรรมหินอ่อนชื่อ “ ปิเอตา รอนดานินี ” (Pieta Rondanini) ค้างอยู่ หลังจากถึงแก่กรรมแล้วศพถูกนำไปฝังไว้ที่โบสถ์เซนต์ปีเตอร์ซึ่งเขาเป็นผู้ออกแบบแต่ไม่สามารถกระทำได้เพราะLeonardo Buonarroti หลานชายของเขาได้นำศพมิเคลันเจโล กลับไปฝังที่โบสถ์SantiApostoliในนครฟลอเรนซ์ถิ่นกำเนิดของเขาในวันที่ 10 มีนาคมปีเดียวกัน

วันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558




              เทพาอาเรส (Ares) หรือ Mars แทพแห่งสงคราม


แอรีส หรือที่ชาวโรมันเรียกว่า มาร์ส (Mars) เป็นเทพเจ้าแห่งสงคราม อาวุธ และชุดเกราะ และเป็นหนึ่งในสิบสองเทพแห่งโอลิมปัสด้วย
แอรีส เป็นเทพแห่งการสงครามเช่นเดียวกับ อธีน่า แต่ทว่าอธีน่าจะได้รับการยกย่องและบูชามากกว่า เนื่องจากอธีน่าเป็นเทพีที่ใช้สติปัญญาวางแผนในการสู้รบมากกว่า ซึ่งได้รับการบูชาในฐานะเทพีแห่งสติปัญญาด้วย ผิดกับแอรีสซึ่งมักจะใช้ความดุดันและโหดร้ายในการสงครามมากกว่า ซึ่งโฮเมอร์ กวีเอกคนสำคัญของกรีกโบราณ ยังเคยเขียนถึงพระองค์ว่า เป็นเทพที่โหดร้ายและหยาบช้า
           แอรีส ซึ่งเป็นชู้รักของเทวีอโฟรไดท์เธอเป็นบุตรองค์หนึ่งของเทพปริณายก ซูส กับเจ้าแม่ ฮีรา และเป็นที่เกลียดชังของเทพและมนุษย์ทั้งปวงเว้นแต่ชาวโรมัน ผู้มีนิสัยชอบการสงคราม

             ชาวโรมันเทิดทูนสดุดีเทพองค์นี้ยิ่งนัก ถึงกับอุปโลกน์ให้เป็นเทพบิดาของ โรมิวลัส (Romulus) ผู้สร้างกรุงโรม และพรรณาสรรเสริญเกียรติคุณของเธอนานัปการ ตรงกันข้ามกับชาวกรีก ซึ่งนอกจากจะไม่นิยมเลื่อมใสเทพองค์นี้แล้ว ยังถือว่า เธอเป็นเทพที่มีสันดานป่าเถื่อนดุร้าย ปราศจากความเมตตากรุณาเสียอีก ในมหากาพย์อิเลียด ซึ่งเป็นบทกวี เกี่ยวกับการ สงครามแท้ ๆ เธอเป็นที่เกลียดชังตลอดเรื่อง นักกวีโฮเมอร์ถึงแก่ประณามเธอว่า "ยินดีในการประหัตประหาร มีมลทินด้วยเลือด เป็นอุบาทว์สำหรับมนุษย์ทั้งปวง" เมื่อสรุปตามสายตาของกรีกดังกล่าว โดยสำนวนปัจจุบัน เราจะเห็นว่า อาเรสคือ เทพอันธพาลของกรีก

             อาเรสเป็นโอรสขององค์เทพซูสกับฮีร่าเทวี และทรงเป็นโอรสที่เทพบิดาซูสตรัสใส่หน้าเลยว่า "เจ้าเป็นที่น่าชังที่ สุดในบรรดาลูกของข้า ทั้งโหดร้าย ดื้อด้านเหมือนแม่เจ้าไม่ผิด!" ซึ่งวาทะประโยคนี้นับว่าวิจารณ์อุปนิสัยใจคอของ อาเรสได้ตรงเป็นที่สุด นอกจากโหดร้ายและดื้อดึง อาเรสยังบุ่มบ่าม โกรธง่าย และนิยมความรุนแรงมาก นับว่าเป็นอุปนิสัยที่ แตกต่างกับเจ้าแม่เอเธน่า มากซึ่งเป็นเทวีแห่งสงครามเหมือนกัน เอเธน่านั้นสุขุม เฉลียวฉลาดและกล้าหาญ จึงได้รับการ ยกย่องทั่วทุกหนแห่ง เป็นเหตุให้อาเรสเกิดจิตริษยาเอามาก เป็นดั่งว่า "ฟ้าให้อาเรสเกิดแล้วไฉนให้เอเธน่ามาเกิดอีกเล่า" เวลาพบกันทีไรจึงมักมีเรื่องทะเลาะวิวาทกันเป็นประจำ มีครั้งสำคัญอยู่ครั้งหนึ่ง เมื่อไปพบกันกลางทางและมีเรื่องทะเลาะกัน อย่างเคย เทพอาเรสเกิดบันดาลโทสะ จึงขว้างจักรอันเรืองฤทธิ์แรงกล้าพอ ๆ กับอสนีบาตขององค์ซูสเทพบิดา เข้า ใส่เอเธน่า เจ้าแม่เอี้ยวหลบแล้วทรงยกเอาหินที่วางอยู่แถว ๆ นั้นขึ้นทุ่มตอบกลับไป หินก้อนนั้นมิใช่หินธรรมดา แต่เป็นหินที่ตั้งไว้เพื่อ แสดงเขตแดนของนคร หินนั้นกระทบถูกอาเรสเข้าให้ถึงกับทรุดลงกองกับพื้น ก่อนที่เทวีเอเธน่าจะกลับไปเจ้าแม่ยังกล่าวเยาะ ให้เจ็บใจเล่นด้วยว่า "เจ้างั่ง! เพียงแค่นี้ เจ้าก็เดาได้แล้วใช่ไหมว่าเรี่ยวแรงของเรามากขนาดไหน อย่าแหยมมารบกวน เราอีกต่อไปเลย!"  

             เป็นที่น่าสังเกตอย่างหนึ่งเกี่ยวกับอาเรสองค์นี้ คือในฐานะที่เป็นเทพแห่งสงคราม ตามปกติหากรบที่ไหนต้องมีชัยที่นั่น แต่ผิดถนัดสำหรับเทพองค์นี้ หากว่าอาเรส รบที่ไหนปราชัยที่นั่นมากกว่า จนน่าประหลาดใจ นอกจากจะพ่ายแพ้แก่เทวีเอเธน่าแล้ว ยังแพ้มนุษย์อีกด้วย อาทิเช่น วีรบุรุษเฮอร์คิวลิส เคยสังหารโอรสของอาเรสมาแล้ว ครั้นผู้เป็นพ่อเข้าช่วยลูก ก็ถูกต่อยตีจนต้องหลบหนีขึ้นไปบนโอลิมปัสแทบไม่ทัน เมื่อนำเรื่องทูลฟ้องซูสเทพบดี ไท้เธอก็ตัดสินไกล่เกลี่ยให้เลิกรากันไป เนื่องจากแท้ที่จริง เฮอร์คิวลิสก็เป็นโอรสของไท้เธอเช่นเดียวกัน เพียงแต่มีมารดาเป็นมนุษย์สามัญ

             เทพอาเรสมักเสด็จไปไหน ๆ โดยรถศึกเทียมม้าฝีเท้าจัดมากมาย แสงเกราะและแสงศาตราวุธของเธอส่องแสงเจิดจ้าบาดตาผู้พบเห็น มีบริวารที่ติดสอยห้อยตามอยู่ 2 คนคือ เดมอส (Deimos) ซึ่งแปลว่าความกลัว กับ โฟบอส (Phobos) แปลว่าความน่าสยองขวัญ บริวารนี้บางตำนานกล่าวว่าเป็นโอรสของเทพอาเรส ในทาง ดาราศาสตร์เมื่อตั้งชื่อดาวอังคารว่า มาร์ส ตามชื่อเทพแห่งสงครามแล้ว ก็เลยตั้งชื่อดวงจันทร์บริวารทั้งสองของดาวอังคารว่า เดมอสกับโฟบอสตามตำนานไปด้วยเลย

             ในด้านความรักของอาเรสนั้นเร่รักไปเรื่อยเช่นเดียวกับเทพบุตรอื่น ๆ ในโอลิมปัส ไม่ได้ยกย่องใครเป็นชายา แต่มีเรื่องรักสำคัญของอาเรสอยู่ครั้งหนึ่งที่เกิดขึ้น ได้แก่การลักลอบเป็นชู้กับเทวีแห่งความงามและความรักนาม อโฟรไดท์

             เมื่ออาเรสเป็นที่เกลียดชังของเทพและมนุษย์ (ชาวกรีก) เช่นนั้นพฤติการณ์ของเธอตอนเป็นชู้กับเทวี อโฟรไดท์จึงเป็นที่ครหารุนแรงและมวลเทพก็คอยจ้องจับผิดก็เพราะความมืดของราตรีกาลเป็นใจ ตราบใดเธอ หลบไปได้ก่อนดวงอาทิตย์ของอพอลโลไขแสง หากยังจับไม่ได้คาหนังคาเขา ตราบนั้นพฤติการณ์ของเธอก็ยังคง เป็นความลับ เธอเกรงกลัวอยู่ก็แต่แสงสว่าง ซึ่งเปรียบประดุจนักสืบของเทพอพอลโลเท่านั้น ถ้านักสืบนั้นแฉ พฤติการณ์ของเธอให้ประจักษ์แก่เทพอพอลโลแล้ว เทพอพอลโลก็คงจะนำความไปบอกแก่เทพฮีฟีสทัส ถึงกรณี ที่เธอลักลอบกับเทวีอโฟรไดท์เธอจึงวางยามไว้คนหนึ่งให้คอยปลุกเมื่อใกล้รุ่ง ผู้ทำหน้าที่นี้คือ หนุ่มน้อยชื่อว่า อเล็กไทรออน (Alectryon) 

             ในคราวที่ความจะแตก อเล็กไทรออนหลับยามเพลินไปจนรุ่งเช้าเป็นเหตุให้อพอลโลเห็นอาเรสกับอโฟรไดท์นิทรา หลับอยู่ด้วยกัน อพอลโลจึงนำความไปบอกแก่เทพฮีฟีสทัส ฮีฟีสทัสสานร่างแหเหล็กเตรียมไว้ก่อนแล้ว พอได้ความดังนั้นก็หอบ ร่างแหไปทอดครอบอาเรสกับอโฟรไดท์ไว้ให้เทพทั้งปวงมาดูและหัวเราะเยาะอย่างครื้นเครง แล้วจึงปล่อยไป ฝ่ายอาเรสได้รับ ความอัปยศอดสูท่ามกลางธารกำนัลยิ่งนัก จึงสาปอเล็กไทรออนให้กลายเป็นไก่ ทำหน้า ที่คอยขันยามในเวลาใกล้รุ่งทุกคืน เป็นการลงโทษในการที่หลับยาม
             ด้วยเหตุนี้ไก่ผู้ทุกตัวที่เกิดขึ้นในโลก จึงสืบสกุลมาจากไก่อเล็กไทรออนตัวแรกนั้นทั้งสิ้น
              และผลของการอภิรมย์ของคู่นี้ ทำให้เทวีอโฟร์ไดท์ ประสูติธิดาออกมาองค์หนึ่งนามว่า อาร์โมเนีย ซึ่งต่อมาได้ เป็นราชินีแห่งนครธีบส์


เพอร์เซโฟนี (Persephone) ราชินีผู้เลอโฉมแห่งปรโลก

เมื่อได้กล่าวถึง เทพฮาเดส พญามัจจุราชแห่งปรโลกไปแล้ว คราวนี้มาถึง ราชินีผู้เลอโฉมแห่งปรโลกล่ะกัน ราชินีผู้งดงามเคียงข้างบนบัลลังก์แห่งปรภพแห่งเจ้าเหนือวิญญาณทั้งปวงในอาณาจักรใต้พิภพ พระเทพีพระองค์นี้ คือ "เทพีเพอร์เซโฟนี" ผู้เป็นหลานสาวแท้ๆของเทพฮาเดสผู้นี้ เทพีแห่งความเจริญงดงาม พระองค์ทรงเป็นพระธิดาในเทพซีอุสกับเทพีดิมิเตอร์ โพสพเทพีแห่งกรีก เมื่อเทพีดิมิเตอร์กับเทพีเพอร์เซโฟนีอยู่ด้วยกัน ความอุดมสมบูรณ์แห่งพืชพรรณธัญหารก็จะบังเกิดขึ้น แต่เมื่อทั้งสองพรากจากกันความแห้งแล้งและอดอยากก็จะมาเยือนสรรพชีวิต เพราะเทพีเพอร์เซโฟนีเป็นสัญลักษณ์แห่งการเจริญงอกงาม เมื่อความเจริญงอกงามไม่อยู่ พืชผลก็ล้มตาย 
                    
          และอยู่ๆจากเทพีผู้สดใสน่ารักตามประสาสาววัยแรกรุ่น ก็พลิกผันกลายเป็นราชินีแห่งปรโลกและเย็นชาไปได้อย่างไร ตามตำนานเล่าว่า เทพีเพอร์เซโฟนีถูกตาต้องใจเทพฮาเดสเป็นอันมาก พระองค์จึงลักพาตัวไปยังอาณาจักรใต้พิภพ และสวมมงกุฎที่ประดับด้วยอัญมณีที่งดงามแก่เทพีเพอร์เซโฟนีทั้งๆที่พระเทพีร้องไห้เสียใจแห่งความพลักพลาก เทพฮาเดสยินดีกับที่พระองค์ทรงได้พระมเหสีที่งดงามและผ่องใส พระเทพีทรงเกลียดพระสวามีมาก ถึงขนาดเกิดความเย็นชาไม่สนใจอะไรในพระสวามีเลยตั้งแต่อภิเษกกันมา แต่เมื่อพระเทพีถึงกำหนดขึ้นสู่พื้นพิภพใบหน้าที่ไร้ความรู้สึกและเย็นชา เมื่อกระทบกับแสงอาทิตย์และกลายเป็นใบหน้าที่มีแต่รอยยิ้มและชีวิตชีวา ความแห้งแล้งบนโลกหายไปสิ้น กลับบังเกิดความอุดมสมบูรณ์ขึ้น แสดงถึงวันที่พระเทพีได้กลับสู่อ้อมอกพระมารดาอีกครั้ง กลายเป็นตำนานความเป็นของฤดูกาล

        ถึงพระเทพีจะทรงมิชอบพระสวามี แต่อย่างไรก็มีความรู้สึกรักบ้าง เข้าตำราว่า รักนะแต่ไม่แสดงออก ทำให้เทพฮาเดสไม่รู้ว่าพระเทพีก็ทรงรักในเทพฮาเดสอยู่บ้าง ในตำนานเคยกล่าวว่า พระองค์ลงมือสังหาร นางไม้ นามว่า "มินธี" สิ้นคาที่ โดยมีเทพีดิมิเตอร์ผู้เป็นพระมารดาร่วมด้วย นี้แสดงได้ถึงความหึงหวงที่พระเทพีมีให้เทพฮาเดส ของใครของใครก็หวง อะไรบางนั้น

              มีตำนานเล่าถึงวีรบุรุษนามว่า"ออร์ฟีอุส" เป็นพระโอรสแห่งเทพอะพอลโล จึงเก่งกาจในการเล่นพิณ เขาเป็นมนุษย์ที่ยังมีชีวิตอยู่ที่เดินทางไปปรโลกอาณาจักรแห่งเทพฮาเดส เพื่อตามหาดวงวิญญาณของนางไม้ยูลิดิซี นางอันเป็นที่รักกลับคืนสู่พื้นโลกเบื้องบน ด้วยเสียงพิณอันไพเราะและเศร้าทำให้พระราชินีแห่งปรโลก ที่ว่ามีความเย็นชา กลับร้องไห้ออกมาและทูลวิวองต่อเทพฮาเดสผู้เป็นพระสวามีให้ออร์ฟีอุสนำวิญญาณของนางยูริดิซีไป เพราะพระเทพีทรงสงสารในความรักของทั้งสอง เป็นทั้งแรกและครั้งสุดท้าย ที่พระเทพีร้องไห้ให้เห็นในปรโลก และมีพระเมตตาสงสารขึ้นมา ซึ่งจากวันนั้นมา พระเทพีก็กลับมาเย็นชาตามเดิม 
       
       ในตำนานรักของกรีก 1 ในตำนานนั้นเป็นที่รักในตำนานเทพเจ้ากรีก คือ ตำนานอีรอสกับไซคี ซึ่งเรื่องมีอยู่ว่า อีรอสรู้แล้วว่าไซคีรู้ความจริงว่าตนเป็นเทพบุตรจึงบินหนีไป ไซคีจึงออกตามหาพระสวามีนั่นคือ เทพบุตรอีรอส จึงเข้าไปขอความช่วยเหลือจากเทพีอโฟรไดทิ ซึ่งนางไม่รู้เลยว่า เทพีอโฟรไดทิต้องการกำจัดนางเพราะนางไซคีสวยกว่าพระองค์ เทพีอโฟรไดทิจึงช่วยให้นางไซคีไปขอความงามจากเทพีเพอร์เซโฟนีราชินีแห่งปรโลกมาให้พระองค์ นางไซคีไม่รู้ว่าการใช้ของพระเทพีในครั้งนี้ เป็นการส่งนางไปตาย แต่นางไซคีก็ยอมทำเพราะต้องการพระสวามีกลับคืน นางไซคีได้รับความช่วยเหลือจากเทพเจ้าที่เห็นใจในความภักดีของนางจนมาถึงตำหนักที่พำนักแห่งเทพีเพอร์เซโฟนี พระเทพียืนผอบทองคำให้มา และนางไซคีก็รับมาและนำกลับไปให้เทพีอโฟรไดทิ แต่ด้วยความอยากรู้อยากเห็นของนาง พอเปิดผอบมันกลับกลายเป็นการหลับไหลนิรันดร นางไซคีสิ้นใจลง อีรอสที่แอบตามมาห่างๆก็ออกมาและได้ขอความช่วยเหลือจากเทพเจ้าบนโอลิมปัส จนเทพซีอุสประทานความเป็นอมตะแก่นางไซคี และเทพบุตรอีรอสกับนางไซคีก็ครองรักกันอย่างมีความสุขตลอดกาล 
    เรื่องที่ยกมานี้เพื่อให้ทราบว่า เทพีเพอร์เซโฟนี ถูกกล่าวในตำนานและเทพนิยายของกรีก ซึ่งถึงว่าพระองค์มีความสำคัญต่อชาวกรีกไม่น้อยเลยทีเดียว


           เพอร์ซุส (perseus) วีรบุรุษแห่งกรีก ผู้สังหารเมดูซา


มาพูดถึงวีรบุรุษแห่งกรีกอีกท่านหนึ่ง ซึ่งไม่ได้ทรงพลกำลังเหมือนดั่งเฮอร์คิวลิสแต่กลับมีความเหมือนกันที่เป็นลูกครึ่งเทพเจ้าเช่นเดียวกัน แต่สิ่งที่น่าแปลกประหลาดว่า เพอร์ซุสเป็นทวดแห่งเฮอร์คิวลิส ซึ่งจะเล่าในช่วงต่อไป หรืออาจเป็นเพราะเหตุนี้ส่วนหนึ่งจึงทำให้เฮอร์คิวลิสมีอภิพลังมหาศาลเพราะเชื้อเทพมาทั้งสองสายทั้งฝ่ายมารดาและบิดาที่เป็นจอมเทพอยู่แล้ว ผู้คนทั้งหลายรู้จักเปอร์ซุสในนาม "เพอร์ซุสผู้สังหารเมดูซา" ซึ่งเป็นอสูรร้ายที่น่ากลัว ที่สามารถทำให้ผู้ที่สบตาของมันแล้วกลายเป็นหินไป

         ตำนานกล่าวว่าเพอร์ซุสว่าเป็นพระโอรสแห่งเทพซีอุสกับพระชายาที่เป็นมนุษย์นามว่า "ดาเนีย" เขาเล่าว่า ท้าวอะคริสิอัสกษัตริย์แห่งเมืองอาร์กอสผู้เป็นพระราชบิดาแห่งเจ้าหญิงดาเนียทรงเข้ารับคำทำนายจากนักบวชวิหารเดลฟีว่า
  "เจ้าจะต้องตายด้วยบุตรชายแห่งธิดาเจ้า"
    หลังจากนั้นท้าวอะคริสิอัสจึงกลัวว่าพระองค์จะตายจึงป้องกันเป็นการดับไฟเสียแต่ต้นลมโดยการสร้างหอคอยที่สูงและขังเจ้าหญิงดาเนียไว้ เพื่อป้องกันเจ้าหญิงมีความสัมพันธ์กับชายอื่นจนตั้งครรภ์ แต่ไหนจะรอดพ้นจากคำทำนายเมื่อเทพซีอุสเกิดหลงรักเจ้าหญิงดาเนียและมาร่วมภิรมย์สุขสมจนเจ้าหญิงตั้งครรภ์และให้กำเนิดพระโอรส พอท้าวอะคริสิอัสทราบเท่านั้นก็จับเจ้าหญิงดาเนียใส่หีบพร้อมพระโอรสพระองค์น้อยลอยทิ้งลอยทะเลไป และแล้วหีบใบนี้ก็ลอยไปติดที่เกาะเซอริฟัส และเจ้าหญิงพร้อมพระโอรสได้รับความช่วยเหลือจากหัวหน้าชาวประมงนามว่า"ดิคทิส"ซึ่งเป็นพระเชษฐาแห่งกษัตริย์โพลิเดคทิส ดิคทิสจึงตัดสินใจส่งเจ้าหญิงพร้อมพระโอรสให้ท้าวโพลิเดคทิสอุปถัมภ์ จนพระโอรสองค์น้อยเติบโตเป็นหนุ่มรูปงาม นามว่า "เพอร์ซุส" ท้าวโพลิเดคทิสซึ่งหลงรักในเจ้าหญิงดาเนียมานานแต่มีเพอร์ซุสเป็นก้างขวางคอ พระองค์จึงจัดการเขาโดยส่งเพอร์ซุสไปตายโดยให้เพอร์ซุสไปนำหัวเมดูซามาเป็นของขวัญ เพอร์ซุสก็ยอมรับภารกิจครั้งนี้ 
      
         เพอร์ซุสออกเดินทางไปทางทิศตะวันตกซึ่งท้าวโพลิเดคทิสบอกว่า
   "ที่อยู่ของปีศาจร้ายเมดูวาอยู่สุดขอบโลกทางทิศตะวันตก…"
         เช่นนั้นเพอร์ซุสจึงต้องเดินทางไปยังทิศตะวันตกแต่ไม่ทันไรก็มีทะเลมาขว้างกั้น แต่สวรรค์ยังปราณีเทพซีอุสผู้เป็นบิดาสั่งพระเทวโองการให้เทพฮาเดส เทพีอธีน่า และเทพเฮอร์เมสช่วยเพอร์ซุสในภารกิจครั้งนี้ จากนั้นเทพเจ้าทั้ง 3 พระองค์ทรงประทานของวิเศษพระองค์ละอย่างแก่เพอร์ซุส
 - เทพฮาเดส ประทานหมวกนักรบที่มีขนนกเป็นพู่สวยงาม
 - เทพีอธีน่า ประทานโล่
 - เทพเฮอร์เมส ประทานเกือกติดปีก
     เพอร์ซุสดีใจกับของวิเศษที่เทพเจ้าประทานมาให้ เพอร์ซุสจึงได้โอกาสถามเทพเจ้าว่าปีศาจเมดูซาอยู่ที่ใด เทพีอธีน่าจึงตอบว่า
    "พวกเราเหล่าทวยเทพมิรู้หรอก แต่มีกลุ่มเทพีกราเอีย 3 พี่น้องเท่านั้นที่รู้ว่าปีศาจเมดูซาอยู่ที่ไหน"
   "พระองค์และเทพี 3 พี่น้องกราเอียอยู่ที่ไหนล่ะพระองค์"
   "เจ้าจงใช้เกือกติดปีกแห่งข้าเหาะไปยังเกาะกลางทะเลที่นั่นคือที่อยู่ของพี่น้องเทพีกราเอีย" เทพเฮอร์เมสกล่าว
   "ขอให้เจ้าทำภารกิจนี้สำเร็จ" เทพฮาเดสกล่าว

       เมื่อเพอร์ซุสได้คำตอบเป็นที่พอใจจึงลาและขอบคุณเทพเจ้าที่ช่วยเหลือ เพอร์ซุสจึงเดินทางต่อไปโดยอาศัยเกือกติดปีกของเทพเฮอร์เมส จนมาถึงเกาะที่อยู่ของ เทพีกราเอีย 3 พี่น้อง เพอร์ซุสพบกับภาพของเทพีที่น่าสงสารที่ตาบอดทุกพระองค์ แต่มีดวงตาเพียงดวงเดียวที่แบ่งกันใช้เท่านั้น เพอร์ซุสขโมยดวงตาแห่งเทพีกราเอียมาเพื่อหลอกถามถึงที่อยู่ของปีศาจเมดูซา เหล่าเทพียอมบอกทางแก่เพอร์ซุสจนไปถึงเกาะอันเป็นที่อยู่แห่งปีศาจเมดูซาได้สำเร็จ…

      เพอร์ซุสมาถึงเกาะที่เต็มไปด้วยรูปแกะหินเหมือนคนจริง ในท่าทางต่างๆ ทั้งน่ากลัว น่าสงสาร ทุกรูปล้วนเคยเป็นคนมีลมหายใจ แต่กลับมากลายเป็นหินเพราะปีศาจเมดูซา เปอร์ซุสเข้าไปยังปราสาทที่อยู่ของเมดูซา และเพอร์ซุสไม่กล้ามองเมดูซาโดยตรงเพราะกลัวว่าเมื่อสบตามันแล้วจะกลายเป็นหิน เขาจึงดูเอาจากเงาที่สะท้อนในโล่ ปรากฏว่าเขาพบกับเมดูซาและเด็ดหัวมันมาจนได้และเหาะนำหัวเมดูซากลับสู่เกาะเซอริฟัส (บางตำนานว่าพอเพอร์ซุสตัดหัวเมดูซาได้นั้นก็บังเอิญสิ่งมหัศจรรย์อย่างหนึ่งออกมาจากคอของเมดูซา นั่นคือ ม้ามีปีก นามว่า "ปีกาซัส" ซึ่งเขาว่าเป็นบุตรที่เมดูซาตั้งครรภ์ครั้งที่มีความสัมพันธ์กับเทพโพไซดอนในครั้งที่เมดูซายังเป็นนางพรายงดงามนางหนึ่งและถูกเทพีอธีน่าลงทัณฑ์โปรดการสาปให้เป็นปีศาจร้ายอย่างที่เป็นอยู่นั่นเอง…) แต่กลับถูกพายุพัดเข้ามาถึงอุทยานสวรรค์แห่งเทพเจ้าที่มีเทพแอตลาสที่แบกสวรรค์ไว้เป็นผู้เฝ้า เพอร์ซุสหวังจะพักผ่อนเพราะความเหน็ดเหนื่อยแต่กลับถูกเทพแอตลาสขับไล่ เพอร์ซุสจึงโมโหและชูหัวเมดูซาใส่เทพแอตลาส เมื่อเทพแอตลาสสบตากับหัวเมดูซาก็กลายเป็นหินไป ต่อมากลายเป็นภูเขาแอตลาสทางตอนเหนือทวีปแอฟริกา ต่อมาเพอร์ซุสออกเดินทางผ่านทะเลทรายซาฮาร่าบังเอิญเลือดของเมดูซาหยดไหลตามทางจึงบังเกิดเป็นงูพิษที่อาศัยในทะเลทราย

      เพอร์ซุสเดินทางผ่านกรุงเอธิโอเปียอันมีท้าวเซฟฟิฟัสปกครอง ซึ่งเขาต้องประหลาดกับเหตุการณ์ที่มีสาวงามถูกตรึงไว้กับโขดหินและมีเจ้าสัตว์ประหลาดจากทะเลกำลังจะกินนาง เพอร์ซุสจึงเข้าสังหารมันเพื่อช่วยหญิงสาวที่เป็นเหยื่อ เพอร์ซุสมาทราบทีหลังว่า หญิงสาวผู้นี้คือ เจ้าหญิงอันโดเมดร้าพระธิดาแห่งท้าวเซฟฟิฟัส ซึ่งเพอร์ซุสยังประหลาดใจว่าทำไมเจ้าหญิงต้องมาเป็นอาหารของปีศาจร้าย ท้าวเซฟฟิฟัสกล่าวถึงสาเหตุว่า
  "พระมเหสีข้า คัสสิโอเปีย กล่าวดูหมิ่นเกียรติแห่งเหล่านางพรายนีเรียดส์ทั้ง50นางซึ่งมี1ในนั้นคือเทพีอัมฟิตริตีราชินีแห่งเทพโพไซดอน พระองค์พิโรธจึงส่งสัตว์ร้ายแห่งท้องทะเลขึ้นมาอาละวาดจับพสกนิกรของเรากิน จนเราต้องส่งสาวพรหมจรรย์มาสังเวยมันทุกปีจนมาถึงคราวของเจ้าหญิงอันโดรเมดร้านี้ล่ะท่าน"
    เมื่อเพอร์ซุสทราบความจริงแล้ว ท้าวเซฟฟิฟัสพอพระทัยเพอร์ซุสที่ช่วยพระธิดาไว้จึงยกพระธิดาให้เป็นพระชายา และแล้วเพอร์ซุสก็อภิเษกกับเจ้าหญิงอันโดรเมดร้าและพาเจ้าหญิงกลับบ้านเมืองของพระองค์และเพอร์ซุสได่นำหัวของเมดูซามาถวาย พอมาถึงเกาะเซอริฟัสพบว่าพระมารดาเจ้าหญิงดาเนียหนีมาอยู่ที่บ้านของดิกทิสเพราะถูกท้าวโพรเดคทิสลวนลาม เพอร์ซุสคิดแก้แค้นจึงเข้าเฝ้าและมอบหัวเมดูซาแก่ท้าวโพรเดคทิสโดยชูหัวเมดูซาให้ เมื่อพระองค์สบตาเมดูซาพระองค์ก็กลายเป็นหินไป จากนั้นเพอร์ซุสก็ยกเมืองนี้ให้ดิกทิสเป็นกษัตริย์พระองค์ต่อไป จากนั้นเพอร์ซุสก็นำหัวเมดูซามาประดับไว้ในโล่ของเทพีอธีน่าและพระองค์ก็คือของวิเศษกลับคืนสู่เทพเจ้าซึ่งเป็นเจ้าของเดิม…

   จากนั้นเพอร์ซุสพาพระมารดาและเจ้าหญิงอันโดรเมดร้าล่องเรือสู่เมืองอาร์กอสเพื่อเยี่ยมเสด็จตาและหวังว่าเสด็จตาจะหายกลัวในคำทำนายแล้ว พอท้าวอะคริสิอัสทราบเท่านั้นก็ได้หลบหนีไปพำนักที่เมืองลาริสซาซึ่งเจ้าเมืองเป็นพระสหายเก่า เพอร์ซุสมาถึงก็ออกตามหาเสด็จตาจนมาถึงเมืองลาริสซา ซึ่งในขณะนั้นมีการจัดงานกีฬา เพอร์ซุสก็ลงแข่งขันด้วยโดยลงแข่งก๊ฬาขว้างจานเหล็ก (ควอยต์) ซึ่งบังเอิญจริงๆเพอร์ซุสขว้างแรงไปโดยไม่ได้ตั้งใจดันไปถูกชายชราคนหนึ่งเสียชีวิต พอเจ้าหญิงดาเนียมาถึงก็กลายว่าชายชราที่ตายนั้นคือ ท้าวอะคริสิคัส ซึ่งเป็นไปตามคำทำนายเสียจริงที่พระองค์จะต้องตายด้วยน้ำมือของหลาน ต่อมาเพอร์ซุสก็ขึ้นครองราชย์เมืองอาร์กอสแต่เกิดความไม่สบายใจเพราะเท่ากับว่าตนเป็นผู้สังหารเสด็จตาเหมือนว่าแย่งบัลลังก์มา พระองค์จึงมาสร้างเมืองใหม่คือ "ไมซีนี" จากนั้นพระองค์กับพระราชินีอันโดรเมดร้าก็ทรงครองรักกันอย่างมีความสุข